การที่มีฟาร์มมหาวิทยาลัยนั้นเพื่อที่จะมุ่งเน้นใช้เทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยและเหมาะสม ให้นักศึกษาใช้ฟาร์มมหาวิทยาลัยเพื่อฝึกทักษะและใช้ฟาร์มมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม และเพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนปฏิบัติการของนักศึกษาในสาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช(เน้นไม้ผล) เทคโนโลยีการผลิตสัตว์(โคนม สุกร แพะ และสัตว์ปีก) เทคโนโลยีการผลิตสัตว์น้ำ(สัตว์น้ำจืด) ให้การสนับสนุนพืช สัตว์ เชื้อพันธุ์ ผลิตภัณฑ์ และชีวมวลแก่สาขาวิชาอื่นๆ ที่ต้องการใช้ผลผลิตและผลิตภัณฑ์จากฟาร์มวิทยาลัย ให้การสนับสนุนด้านสถานที่ในการดำเนินการวิจัยของอาจารย์ บัณฑิตศึกษา และปัญหาพิเศษ/โครงงานของนักศึกษาปริญญาตรี
การดำเนินกิจกรรมฟาร์มครบตามความต้องการขั้นต้นของหลักสูตรที่ต้องการใช้ฟาร์มมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ และจัดการฟาร์มให้มีกิจกรรมอย่างน้อย 3 กิจกรรมที่สามารถเลี้ยงตัวเองได้ผลผลิตและผลิตภัณฑ์ที่มีจำหน่าย
1. ผักปลอดสารพิษ
2. ไข่ไก่สดคัดเกรด(เป็นผลผลิตจากไก่ไข่ที่เลี้ยงภายใต้ระบบ Evaporative Cooling System)
3. สุกรพันธุ์แท้ และลูกผสมสองสาย(ต้องสั่งจอง)
4. โคนมเพศผู้(ต้องสั่งจอง)
5. โคสาวตั้งท้อง 3 เดือน(ต้องสั่งจอง)
6. ผลิตภัณฑ์น้ำอ้อยบรรจุขวด(ไม่ใส่สารสังเคราะห์ สารกันบูดและไม่เจือสี)
7. ผลิตภัณฑ์นมสดพาสเจอร์ไรส์รสจืด นมปรุงแต่งรสหวาน ช็อกโกแลต สตรอเบอร์รี่ กาแฟ ขนาดบรรจุ 200 มิลลิลิตร นมเปรี้ยวพร้อมดื่มรสส้มและรสผลไม้รวม ขนาดบรรจุ 180 มิลลิลิตร
การที่ทางมหาวิทยาลัยได้มีการจัดตั้งฟาร์มมหาวิทยาลัยนั้นเพื่อที่จะให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง ฟาร์มมหาวิทยาลัยเป็นแหล่งเรียนรู้ มีระบบการทำงานและระบบข้อมูลที่ถูกต้อง มีการพัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพเหมาะสมกับงานสามารถตอบสนองพันธกิจให้กับมหาวิทยาลัยได้ดีที่สุด การที่มีฟาร์มมหาวิทยาลัยนั้นสามารถทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ แปรรูปผลิตภัณฑ์ และบริการวิชาการ และเป็นการการดำรงไว้ซึ่งศิลปะและวัฒนธรรม ความสัมพันธ์ที่ดีต่อองค์กร และชุมชน เป็นการฝึกอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมด้านการเลี้ยงสัตว์สู่ชุมชน ให้บริการด้านสุขภาพสัตว์แก่เกษตรกรในชุมชนใกล้เคียง เพราะฉะนั้นการที่มีฟาร์มมหาวิทยาลัยนั้นทำให้มีผลดีต่อนักศึกษาเป็นอย่างมาก